วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ชื่อบริษัทว่า "โตโยต้าดีเยี่ยม" ทุกอย่างต้อง "ดีเยี่ยม" การจัดการระบบบำบัดไขมันน้ำมันของบริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด


เนื่องจากช่วงนี้กำลังย่างเข้าสู่ฤดูฝน ดังนั้น ย่อมจะมีฝน น้ำฝนไหลปนไปสู่ที่ต่ำ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของธรรมชาติ  และที่สำคัญอาจจะมีที่เรียกว่า "น้ำเสีย" เกิดขึ้น กล่าวสำหรับเรื่องของน้ำเสียนั้น บริษัทโตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เพราะอาจจะมีน้ำเสียเกิดขึ้นได้จากการให้บริการกับลูกค้าที่มาใช้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ล้างรถ เคาะพ่นสี  

สำหรับน้ำเสียอาจจะมีไขมันน้ำมันปนเปื้อน เช่น น้ำล้างรถยนต์ น้ำล้างพื้นลานบริเวณจุดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และส่วนอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งบริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด มีระบบบริหารจัดการที่สามารถรวบรวมและนำน้ำเสียดังกล่าวไปบำบัดแยกต่างหาก โดยใช้บ่อตกตะกอนและบ่อดักไขมัน ก่อนระบายออกจากบริษัทลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ บริษัท โตโยต้าดีเยี่ยมจำกัด ได้ดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน  
กล่าวสำหรับการจัดการน้ำมันหล่อลื่น (น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว ถือเป็นของเสียอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535) ที่ถูกเปลี่ยนถ่ายจากรถยนต์ของลูกค้าผู้มาใช้บริการ และการจัดการระบายน้ำเสีย ไขมันและน้ำมัน ในเบื้องต้นของบริษัทโตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด นั้น ดำเนินการดังนี้

     (1) การดูแลตะแกรงดักขยะและรางระบายน้ำ
            น้ำเสียจากส่วนพื้นที่บริการของแผนก GS  (อาจจะเกิดจากขบวนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง) แผนกBP (อาจจะเกิดจากการล้างรถที่จะเข้าซ่อม และล้างสี)  และ แผนก  CAR SPA (อาจจะเกิดจากน้ำที่ล้างรถภายนอก)  จะไหลลงตะแกรงดักขยะ (กั้นขวางการไหลของน้ำเสียในรางเปิด ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ขยะเข้าสู่ระบบฯ ) โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่การทำงานดังนี้
(1)   ทำความสะอาดพื้น จะดำเนินการเช็ดพื้นที่เปื้อนจากน้ำมันด้วยขี้เลื้อยเพื่อไม่ให้มีส่วนของน้ำมันหล่อลื่นสามารถปนไปในท่อระบายน้ำ ในกรณีที่ต้องทำความสะอาดพื้นด้วยการล้างด้วยน้ำ
(2)   แต่ละแผนก กำหนดให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการโกยเอาเศษขยะที่ดักกรองไว้หน้าตะแกรงดักขยะเป็นประจำ  
(3)   แต่ละแผนกมีการตรวจรางระบายน้ำ โดยกำหนดผู้รับผิดชอบ และดำเนินการเป็นประจำ

     (2) การดูแลและทำความสะอาดบ่อดักน้ำมันหล่อลื่น
สำหรับน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วนั้น จะมีเฉพาะที่เกิดจากแผนก GS ที่ลูกค้ามาใช้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เพื่อให้กระบวนการจัดการน้ำมันหล่อลื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด จึงมีการดูแลรักษาและทำความสะอาดบ่อดักไขมันให้มีประสิทธิภาพเพื่อใช้งานได้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ดังนี้
(1)   การแยกน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว โดยแผนก GS นำน้ำมันหล่อลื่นที่เปลี่ยนถ่ายจากรถลูกค้า เก็บในภาชนะที่เหมาะสม

ทั้งนี้ น้ำมันหล่อลื่อจากรูปข้างต้นจะทำไปถูกจัดการเข้าสู่ถังเก็บเพื่อจำหน่ายต่อไป
ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวจะถูกส่งผ่านท่อไปยังห้องเก็บเพื่อรอรับการจำหน่าย
ท่อส่งต่อน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว
ระบบท่อส่งผ่านน้ำมันหล่อลื่นแผนก GS ไปยังห้องจัดเก็บพิเศษ

ถังจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นเพื่อรอจำหน่าย

 การจัดเก็บในส่วนที่เป็นของเสียเกี่ยวกับไขมันน้ำมัน





เมื่อทำการจัดเก็บน้ำมันหล่อลื่นไว้แล้ว จะมีบริษัทวังจุฬา ฯ จำกัด เป็นผู้มาให้บริการรับซื้อน้ำมันดังกล่าวเป็นประจำทุกสิ้นเดือน โดยผ่านฝ่ายธุรการของแผนก GS คือ นางสาวนิภาพร มาลีรัตน์ เป็นผู้ประสานดำเนินการ


(2)   การทำความสะอาดบ่อดักไขมันน้ำมัน แผนก GS จะทำความสะอาดบ่อดักไขมัน เมื่อระดับตะกอนในบ่อยังไม่สูงเกินกว่าที่กำหนดไว้  หรือ ความหนาของชั้นไขมันตกค้างในบ่อส่วนบนยังไม่สูงเกินกว่าที่กำหนดไว้  โดยจะทำการสูบกากไขมันน้ำมันบนผิวน้ำและตักตะกอนก้นบ่อออกเพื่อนำไปกำจัดต่อไป จากนั้นทำการฉีดล้าง ทำความสะอาดบ่อ  ซึ่งบ่อดักไขมันทั้งหมดมีทั้งหมดจำนวน 5 บ่อ ตามรูปภาพต่อไปนี้ โดยสามารถที่จะดักน้ำมันหล่อลื่นไม่ให้ออกไปปนเปื้อนกับระบบระบายน้ำที่จะออกสู่พื้นที่สาธารณะ
   



บ่อดักจับน้ำมันซึ่งสามารถที่ดักจับน้ำมันไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




โดยกำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลบ่อดักพร้อมขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามรูปภาพต่อไปนี้



และที่สำคัญ บริษัทโตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด ได้ว่าจ้างให้บริษัทวังจุฬาฯ จำกัด มาดำเนินการในส่วนของการดูดไขมันน้ำมันจากบ่อดักจับไขมันดังกล่าว พร้อมนำของเสียอื่นๆ ออกไปทิ้งภายนอกบริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด เป็นประจำ ดังรูปภาพต่อไปนี้

การปฏิบัติงานของแต่ละแผนกเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องน้ำมันหรือของเสียปนเปื้อนในระบบระบายน้ำ
(1)   แผนก GS เวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องจะต้องระมัดระวังการหกของน้ำมันหล่อลื่นลงบนพื้น ซึ่งหากว่ามีน้ำมันหล่อลื่นหกลงบนพื้นเกิดขึ้น ให้ดำเนินการโดยการนำขี้เลื่อยมาใช้ในการจัดการดำเนินการและใช้กระดาษเช็ดพื้นให้สะอาดที่สุด  พร้อมทั้งนำส่วนดังกล่าวเก็บทิ้งในส่วนของขยะถังสีแดงต่อไป อันเป็นขั้นตอนการดำเนินงานที่ถูกต้อง


การทำความสะอาดพื้นที่เปื้อนน้ำมันด้วยขี้เลื่อย


(2)   แผนก BP  ได้คำนึงถึงน้ำเสียที่จะเกิดจากการทำงานให้ทุกขั้นตอนที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของแผนก BP มีการล้างรถภายนอกก่อนทำการขัดผิว ซึ่งเป็นการใช้น้ำล้างตัวรถเท่านั้น จึงทำให้ไม่มีคราบน้ำมันที่อาจจะเกิดขึ้นได้  อย่างไรก็ดี ในส่วนของการพ่นสีล้างอุปกรณ์นั้น อาจจะทำให้เกิดน้ำเสียเกิดขึ้นได้ แต่แผนก BP ได้มีการกำหนดพื้นที่และผู้รับผิดชอบในส่วนดังกล่าว พร้อมมีการตรวจสอบเป็นประจำ


ภาพจุดน้ำทิ้งของแผนก BP ก่อนที่เข้าสู่ระบบระบายน้ำ
(ซึ่งมีตรวจสอบและกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลเป็นประจำ)
          
นอกจากนั้น ในส่วนของเสียของแผนก BP เช่น ทินเนอร์ มีการจัดเก็บเป็นสัดส่วนแยกไว้ระเบียบเพื่อไม่ให้เกิดเปื้อนปนในระบบระบายน้ำ  ดังรูปภาพต่อไปนี้




สรุปการจัดการระบบน้ำเสียภายในบริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด เป็นดังนี้
1. มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด โดยกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบตรวจสอบดำเนินการเป็นประจำ
2. มีการทำความสะอาดพื้นที่บริเวณที่ทำงานปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามแนววิธีการปฏิบัติที่ดีและตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
3. มีการจัดการของเสีย เช่น น้ำมันหล่อลื่น และ ทินเนอร์ ที่เป็นสัดส่วน เป็นพื้นที่เฉพาะส่วน ไม่ให้ของเสียสามารถปนเปื้อนกับระบบระบายน้ำได้  พร้อมทั้งมีบริษัทภายนอก (บริษัทวังจุฬาฯ จำกัด ) มารับซื้อน้ำมันหล่อลื่น และดูดนำน้ำมันไขมันออกไปทิ้งภายนอกบริษัทเป็นประจำ
4. มีระบบระบายน้ำออกจากบริษัทเพียงจุดเดียว (บริเวณด้านหน้าตรงแผง Solar Cell) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่ามีน้ำเสียเกิดจากบริษัทหรือไม่ 




ข้อสังเกต
         เนื่องจากระบบระบายน้ำเสียผ่านด้านหน้าบริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม นั้น มีมาจากพื้นที่ด้านสี่แยกวนารมย์  และ ด้านฝั่งตรงข้าม ตามรูปภาพต่อไปนี้


ดังนั้น เป็นไปได้ที่จะมีน้ำเสียผ่านหน้าบริษัทไปลงท่อระบายขนาดใหญ่หน้าเสาธง เพื่อผ่านท่อตรงไปสู่หมู่บ้านเอื้ออาทร




สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ น้ำเสียที่อาจจะมาจากส่วนด้านถนนที่มาจากสี่แยกวนารมย์ และมาจากส่วนพื้นที่ตรงข้ามบริษัท เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ถึงแม้ว่าบริษัท โตโยต้า ดีเยี่ยม จำกัด จะสามารถจัดการระบบระบายน้ำบำบัดน้ำเสียได้ดี  แต่หากว่าเกิดมีน้ำเสียอันมาจากทั้งสองแห่งดังกล่าวข้างต้นแล้ว ย่อมจะส่งผลไปต่อระบบระบายน้ำที่เป็นท่อส่งผ่านไปยังหมู่บ้านเอื้ออาทรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี  บริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด จะสร้างความเข้าใจกับชุมชนรอบข้างให้ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการเกี่ยวกับเรื่อง "น้ำเสีย" ต่อไป

ภาพประกอบ



แนวท่อระบายน้ำของบริษัท
แนวท่อระบายน้ำของบริษัทก่อนจะออกสู่พื้นที่ภายนอกตรงป้าย Solar Cell
แนวท่อน้ำเสียจากภายนอกบริษัทจากเสาธงด้านหน้าผ่านไปยังพื้นที่หมู่บ้านเอื้ออาทร

ภาพส่วนระบายน้ำด้านหน้าบริษัท ซึ่งมีปลาจำนวนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าน้ำดังกล่าวน่าจะมีจำนวนออกซิเจนเพียงพอสำหรับสัตว์น้ำ บันทึกเมื่อ วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2559

ทั้งนี้บริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด ได้จัดให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ดักเก็บเพื่อควบคุมและดักเก็บไขมัน น้ำมัน และคราบไขมัน (fats, oil, and grease : FOG) เป็นที่เรียบร้อย เพื่อความมั่นใจต่อชุมชนรอบข้างได้สบายใจเรื่องดังกล่าว หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอาจจะต้องมีการวิเคราะห์ค่า FOG BOD, COD  เพื่อความน่าเชื่อถือต่อไป
โดยที่
FOG = ค่าไขมันและน้ำมัน ซึ่งค่ามาตรฐานของอุตสาหกรรมแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ต้องไม่เกิน 5 mg/l
BOD = Biological Oxygen Demand คือความต้องการออกซิเจน ในการใช้ออกซิไดซ์ สารอินทรีย์ในน้ำ (โดยแบคทีเรีย/สิ่งมีชีวิตในน้ำ) ดัชนีวัดสารอินทรีย์หรือความสกปรกในน้ำทิ้ง  ต้องไม่เกิน 20 mg/l
COD มาจากคำว่า Chemical Oxygen Demand คือ ปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ในการย่อยสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำ  ดัชนีวัดสารอนินทรีย์หรือสารเคมีในน้ำทิ้ง   ต้องไม่เกิน 120 mg/l
ข้อมูลประกอบเพิ่มเติมได้ที่

Clip  การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการไขมัน น้ำมัน ของบริษัทโตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด โดยมีบริษัท วังจุฬาฯ จำกัด มาดำเนินการในทุกๆ สัปดาห์



และเมื่อมีฝนตกลงมานั้น น้ำภายในบริษัทจะไหลออกไปด้านหน้าบริษัท (ไม่ได้ไหลไปด้านหลังบริษัทแต่อย่างใด)

และเมื่อฝนตก น้ำที่ไหลผ่านด้านหน้าบริษัท (ไม่ว่าจะมาจากด้านสี่แยกสวนวนารมย์  ด้านฝั่งตรงข้ามบริษัท) จะไหลผ่านท่อระบายน้ำไปสู่ด้านหมู่บ้านเอื้ออาทร  


และ จากการตรวจสอบน้ำที่ไหลไปสู่บริเวณหมู่บ้านเอื้ออาทร (เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2559) นั้น เป็นดังนี้


ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีคราบไขมันน้ำมันแต่อย่างใด 



บ่ายวันนี้  (21 พฤษภาคม 2559) ท่านประธานสมชาย เหล่าสายเชื้อ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของผู้ที่เดือดร้อนอันเนื่องมาจาก "น้ำ" ท่านประธานได้เดินทางไปด้วยตนเอง ณ บริเวณด้านหลังของบริษัท และท่านได้กล่าวว่า "เมื่อชื่อบริษัทของเราคือดีเยี่ยม ทุกอย่างจะต้องดีเยี่ยมด้วย" เมื่อเดินทางไปถึงบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนด้านหลังของบ้านผู้เดือดร้อน (เป็นสุภาพสตรี ทำงานฝ่ายสินเชื่อ ธ.กสิกรไทย สาขาวารินฯ) วิ่งผ่านช่องรั้วออกมา (หากว่าจะกระโดดข้ามรั้วได้ก็อาจจะกระโดด) แววตาเขาดีใจเป็นอย่างยิ่ง และยิ้มอย่างมีความสุข ที่ท่านประธานได้เสียสละเวลาไปรับฟังปัญหา และพร้อมที่ช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว นำมาซึ่งความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างบริษัทและชุมชนรอบข้าง อยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความสุขอย่างยั่งยืน


























 อจ.ตุ้ย ผู้บันทึก 21 พ.ค. 2559

และต่อมาบริษัท โตโยต้าดีเยี่ยม จำกัด ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการช่วยเหลือดังกล่าว และได้ดำเนินการ ดังรูปภาพต่อไปนี้






4 มิถุนายน 2559





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น